โลโก้

โลโก้

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ร่าเริง แจ่มใส โกรธง่ายหายเร็ว ชอบคนเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ...นางสาววรกานต์ สุดาจันทร์

ชื่อเล่น...หวาน

เกิด...วันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ 2533

ที่อยู่...62 ต.หนองฮะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

จบจาก...โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม

การศึกษา...คณะครุศาสตร์ โปรแกรม คณิตศาสตร์ ปี3

รหัส...52181400125

สถานศึกษา...มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิชาที่ชอบ...คณิตศาสตร์

วิชาที่ไม่ชอบ...ภาษาอังกฤษ

คติ...ทำวันนี้ ให้ดีกว่า เมื่อวาน



วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ที่ได้จากการเรียน

จากการเรียน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
วันที่ 11 เดือน กรกฎาคม 2554 ได้รับความรู้ คือ
1) ได้รู้วิธีการเขียนบล็อก
2) ได้รู้วิธีการปรับแต่บล็อก
3) สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการหาเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4) สามารถนำเทคโนโลยีใ้ช้เป็นสื่อในการสอนคณิตศาสตร์
5) รู้จักวิธีการสอนคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย

การเชื่อมประพจน์และการหาค่าความจริงของประพจน์

การเชื่อมประพจน์
เนื่องจากในตรรกศาสตร์เราจะศึกษาประโยคในลักษณะใดเป็นจริงหรือประโยคในลักษณะใดเป็นเท็จ ดังนั้นเราจึงศึกษาประโยค ที่มีลักษณะ เป็นประพจน์เท่านั้นและเพื่อสะดวก เรานิยมใช้ p , q , r ,…. แทนประพจน์ที่กำหนด และใช้ T และ F แทนค่าความจริง ที่เป็นจริงและเท็จ ในทางตรรกศาสตร์เรามีตัวเชื่อม ( connectives ) อยู่ 4 ตัว คือ


1.ตัวเชื่อมประพจน์ "และ"
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "และ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F)

2.ตัวเชื่อมประพจน์ "หรือ"
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "หรือ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

3.ตัวเชื่อมประพจน์ "ถ้า...แล้ว"
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "ถ้า...แล้ว" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

4.ตัวเชื่อมประพจน์ "ก็ต่อเมื่อ"
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ "ก็ต่อเมื่อ" สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน

5.นิเสธของประพจน์
นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p

อ้างอิง..http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/logi_lin.html